Non-paper - 12 Nov 2018 - กรมกิจการผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกกฎระเบียบใหม่ ให้สินค้านำเข้ามีภาษาเมียนมากำกับ

14 Nov 2018

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา ขอแจ้งให้ทราบว่า

 

๑.     เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการกลางของเมียนมาเพื่อปกป้องผู้บริโภคได้ออกประกาศที่ ๑/๒๐๑๘ กำหนดให้สินค้าบางประเภทต้องมีป้ายภาษาเมียนมา เพื่อให้ข้อมูลและรักษาความปลอดภัยของผู้บริโภค โดยสามารถมีภาษาอื่นร่วมกับภาษาเมียนมาได้ ทั้งนี้ ป้ายภาษาเมียนมาจะต้องระบุ () วิธีการใช้สินค้า () วิธีเก็บรักษาสินค้า () ข้อมูลตักเตือนเรื่องภูมิแพ้ และ/หรือตักเตือนเรื่องอื่นที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค และ () อาการข้างเคียง (หากมี) ทั้งนี้ กฎระเบียบดังกล่าวครอบคลุมป้ายบนสินค้า แต่ไม่ได้รวมถึงบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบอื่น เช่น     กล่องแสดงสินค้า (display box)

๒.     รายการสินค้าสำคัญ (priority products) ที่ต้องมีภาษาเมียนมา ได้แก่

 

ประเภทสินค้า

สินค้าสำคัญที่ต้องมีภาษาเมียนมา

อาหารและเครื่องดื่ม

น้ำผลไม้ แยม สินค้านม สินค้าเนื้อ สินค้าไข่ สินค้ากระป๋อง น้ำมันทำกับข้าว กาแฟและชากึ่งสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง น้ำดื่ม เครื่องปรุงอาหาร ของทางเล่น อาหารเสริมสำหรับเด็ก tobacco used in betel บุหรี่ สุรา          อาหารในบรรจุภัณฑ์

สินค้าใช้ในครัวเรือน

สินค้าไฟฟ้าในครัวเรือน

สินค้าเด็ก

รถเข็นเด็ก สายจูงเด็ก ของเล่นเด็กและ accessories เปลเด็ก และสินค้าอนามัยเด็ก

อุปกรณ์โทรคมนาคม

โทรศัพท์มีสายและไร้สาย โทรศัพท์มือถือ และ accessories

ยาและอาหารเสริม

ยาสำหรับครัวเรือนที่ไม้ต้องมีใบแพทย์ อาหารเสริม และยาแผนโบราณ

เคมีภัณฑ์

ปุ๋ย สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง

เครื่องสำอาง สินค้าบำรุงผม

ของใช้ในห้องน้ำ (toiletries)

ยาสีฟันและสบู่ (สบู่เหลว สบู่แข็ง และสบู่ผง)

อุปกรณ์

อุปกรณ์ด้านการเกษตร และอุปกรณ์ fitness

 

                   ทั้งนี้ อาจมีรายการสินค้าเพิ่มเติมในอนาคต

 

๓.     บริษัทมีเวลา ๖ เดือน นับจากวันที่ออกกฎระเบียบใหม่ (๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑)       ในการนำกฎระเบียบไปสู่การปฏิบัติ และหากไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในเวลาดังกล่าว ฝ่ายเมียนมา จะมีมาตรการตามกฎหมายป้องกันผู้บริโภคเมียนมา ปี ๒๕๕๗ ดังนี้

(๑)  การตักเตือนธรรมดา

(๒)  การตักเตือนอย่างแรง

(๓)  คำสั่งให้แก้ไขการละเมิดกฎระเบียบหรือจ่ายค่าละเมิดกฎระเบียบ

(๔)  การระงับการขายและกระจ่ายสินค้าที่ละเมิดกฎระเบียบชั่วคราว

(๕)  การเรียกคืนสินค้า (product recall)

(๖)  การทำลายสินค้า และ/หรือ

(๗)  การยกเลิกใบอนุญาตด้านธุรกิจแบบชั่วคราวหรือถาวร

 

ที่มา: บริษัทที่ปรึกษาทางกฎหมาย Tilleke & Gibbins สำนักงานกรุงย่างกุ้ง

 

************************************************

 

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา

วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๑


« Back to Result