สรุปพัฒนาการที่โดดเด่นด้านธุรกิจและการลงทุนในเมียนมา ปี ๒๕๕๘

18 มกราคม 2559
สรุปพัฒนาการที่โดดเด่นด้านธุรกิจและการลงทุนในเมียนมา ปี ๒๕๕๘

สรุปพัฒนาการที่โดดเด่นด้านธุรกิจและการลงทุนในเมียนมา ปี ๒๕๕๘

 

 

ในช่วงเวลาที่ทุกฝ่ายเฝ้ารอนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ของเมียนมาอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนด้านธุรกิจและการลงทุนต่อไปในปี ๒๕๕๙ ทางศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา   ขอนำเสนอบทสรุปพัฒนาการที่โดดเด่นด้านธุรกิจและการลงทุนในเมียนมาในปี ๒๕๕๘ โดยนิตยสารท้องถิ่นMizzima ฉบับวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ - ๖ มกราคม ๒๕๕๙ ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ     และน่าติดตาม ดังนี้

๑.     นโยบายด้านเศรษฐกิจ

.ค่าแรงขั้นต่ำรัฐบาลเมียนมาได้กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ๓,๖๐๐ จั๊ตสำหรับวันทำการ ๘ ชัวโมง หรือประมาณ ๖๗ ดอลลาร์สหรัฐสำหรับการทำงานสัปดาห์ละ ๖ วัน ซึ่งผูเชี่ยวชาญคาคว่า นโยบายดังกล่าวน่าจะกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของเมียนมา เนื่องจากค่าแรง   ต่ำกว่าเวียดนามและกัมพูชา ซึ่งอยู่ที่ประมาณ ๙๐ - ๑๒๘ ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

.การพัฒนาเมืองใหญ่ ๆ ให้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ (economic hub)ADBได้อนุมัติเงินกู้ ๖๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในเมืองมัณทะเลย์ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อม และพัฒนาระบบสาธารณสุขของเมือง        

.การเปิดตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (Yangon Stock Exchange)ซึ่งจะเริ่มทำการในปี ๒๕๕๙ โดยธนาคารและบริษัทที่จดทะเบียนแล้ว ได้แก่ First Private Bank, Myanmar Agribusiness Public Co. Ltd, Myanmar Citizens Bank, Myanmar Thilawa Public Company, First Myanmar Investment และ Great Hor Kham Public Co. Ltd. ทั้งนี้ คาดว่าจำนวนผู้บริโภคที่เป็นชนชั้นกลาง และมีฐานะร่ำรวยในเมียนมาจะเพิ่มจาก ๕.๓ ล้านคนในปี ๒๕๕๕ เป็น ๑๐.๓ ล้านคนภายในปี ๒๕๖๓

.การพัฒนาอู่ต่อเรือ และเรือเชิงพาณิชย์ โดย Myanmar Shipyards ได้ประกาศว่าจะสร้าง กองเรือเชิงพาณิชย์จำนวน ๓๐ ลำ เป็นมูลค่า ๑๗๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ๒๕๖๐ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในด้านการขนส่งทางทะเลของ มม.

.ข้อเสนอแนะ ที่ปรึกษาพรรค NLD มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลพัฒนาสาขาเกษตร รวมทั้งพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวนา และประชากรในพื้นที่นอกเมืองโดยรวม            ส่วนภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลจัดทำยุทธศาสตร์สำหรับภาคธุรกิจ โดยอาจพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์ระยะ ๕, ๑๐ และ ๑๕ ปี

.ประเด็นท้าทายรายงานของสมาพันธ์หอการค้า และอุตสาหกรรมของเมียนมา (Union of Myanmar Federation of Chambers of Commerce and Industry – UMFCCI) ระบุว่า     ในช่วง ๔ ปีที่ผ่านมางบประมาณของเมียนมาขาดดุลกรวมว่า ๑๐ ล้าน ๆ จั๊ต (.๖๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งสร้างความกังวลให้แก่นักเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาการ เนื่องจากปริมาณการขาดดุลงบประมาณเกือบเท่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ นอกจากนี้ รายงานของ Global Financial Integrity ระบุว่า เงินเกือบ ๒๐ พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้ไหลออกจากเมียนมาอย่างผิดกฎหมายระหว่างปี ๒๕๐๓ - ๒๕๕๖ ทำให้เมียนมาขาดแคลนทรัพยากร เกิดธุรกิจใต้ดิน การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งอาชญากรรม และการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่รุนแรงยิ่งขึ้น

๒.     ธุรกิจในเมียนมา รายงานการจัดอันดับโลกของ VeriskMaplecroft’sLabour Costs Index ซึ่งได้สำรวจข้อมูลใน ๑๗๒ ประเทศระบุว่า ธุรกิจที่มีสายโซ่อุปทานและการดำเนินงานในเมียนมา บังกลาเทศ และกัมพูชาจะได้ประโยชน์จากค่าแรงที่ต่ำที่สุดในโลก ทั้งนี้ เครือข่ายทหาร           ใน เมียนมายังคงตำแหน่ง “gatekeeper” สู่ตลาดเมียนมาและคุมธุรกิจในเมียนมาหลายสาขา อาทิ ธุรกิจด้านโรงแรม ท่าเรือ เหมืองแร่ และธุรกิจหยก โดยเมื่อปี ๒๕๕๗ เมียนมาผลิตหยกเป็นมูลค่า ๓๑ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

๓.     การค้าตามชายแดน ตามข้อมูลของศุลกากร มม. การค้าชายแดนไทย-เมียนมา      ที่แม่สอด-เมียวดี ในปีงปประมาณ ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘ (๑ เมษายน๒๕๕๗ - ๓๑ มีนาคม๒๕๕๘) มีมูลค่ากว่า ๖๐ พันล้านจั๊ต (๔๖.๑ ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒.๓๐ จากปีงบประมาณก่อน

๔.     การลงทุนของต่างประเทศในเมียนมา

.ด้านโทรคมนาคม บริษัท Telenor ของนอร์เวย์ และ Ooredooของกาตาร์ได้ขยายเครือข่ายการให้บริการในเมียนมาโดยผลงานวิจัยของบริษัท Ericsson ผู้สนับสนุนอุปกรณ์ด้านเครือข่าย และบริษัท McKinsey คาดการณ์ว่า การบริการด้านระบบการสื่อสารของเมียนมาจะสร้างงานให้กว่า ๙๐,๐๐๐ คน รวมทั้งส่งเสริมการเติบโตทาง ศก. ให้สูงกว่าร้อยละ ๘ ต่อปี สืบเนื่องจากจำนวนประชาชนทั่วไปที่เชื่อมโยงกับอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือมากขึ้น

นอกจากนี้ผลสำรวจของบริษัทวิจัย Ovum ปรากฏตามตารางข้างล่าง

 

 

๒๕๕๖

๒๕๕๗/ การคาดการณ์สำหรับอนาคต

การสมัครใช้โทรศัพท์มือถือใน เมียนมา

 

------------

๑๔.๘ ล้านคน (ณ ปลายปี ๒๕๕๗            โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ ๘๗ ต่อปี)

คาดการณ์ว่า จะเพิ่มร้อยละ ๒๑ เป็นจำนวน ๓๘.๕ ล้านคนภายในปลายปี ๒๕๖๒

สัญญานมือถือครอบคลุมพื้นที่        ในประเทศ

ร้อยละ ๑๒.(ณ ปลายปี ๒๕๕๖)

ร้อยละ ๑๙.(ณ ปลายเดือนกันยายน๒๕๕๗)

 

ทั้งนี้ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์ มีเครือข่าย 3G ครอบคลุมแล้ว

 

.ด้านการท่องเที่ยว บริษัท Wyndham Hotel Group ของสหรัฐฯ จะลงทุนพัฒนาโรงแรม ๕ ดาว ข้าง Kandawgyi Lake ในกรุงย่างกุ้ง ซึ่งรวมทั้งห้องพักโรงแรม อพาร์ตเม็นท์ ออฟฟิศ และห้างสรรพสินค้า

.การลงทุนในเขต ศก. พิเศษติละวา บริษัทผลิตเหล็กของไทย MillconPlc (MILL) จะเริ่มผลิตเหล็กในเมียนมา ในปี ๒๕๕๙ หลังจากที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา นอกจากนี้ บริษัท Suzuki จะลงทุนหลายสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้างโรงงานประกอบรถยนต์แห่งที่ ๒ ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เช่นกัน

๕.     การเปิดสาขาธนาคารของต่างประเทศในเมียนมาธนาคารกรุงเทพธนาคาร Tokyo-Mitsubishi UFJ ของญี่ปุ่น Maybank ของมาเลเซีย Industrial and Commercial Bank of China (ICBC) และ Australia and New Zealand Banking Group Ltd. (ANZ) ของออสเตรเลียได้เปิดสาขาในย่างกุ้ง นอกจากนี้ ยังมี UOB ของสิงคโปร์ที่ได้เปิดสาขาในย่างกุ้ง โดยเน้นสนับสนุนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมยานยนต์

 

                   โดยสรุป รัฐบาลเมียนมายังคงดำเนินนโยบายส่งเสริมขีดความแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเนปิดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ศูนย์กลางทางราชการและทางเศรษฐกิจให้มากขึ้น        ในขณะเดียวกัน สาขาที่มีการเติบโตในเมียนมา ได้แก่ ภาคโทรคมนาคม การก่อสร้าง การท่องเที่ยว ระบบการขนส่ง ภาคธนาคาร และเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ในช่วงเวลาที่รัฐบาลเมียนมาดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจ และพัฒนาสถาบันด้านการเงิน รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง ทางฝ่ายไทยอาจพิจารณาส่งเสริมความร่วมมือกับเมียนมา           ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์และยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้อีกมากในสาขา      ทางเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโต และได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเมียนมา โดยอาจใช้แนวคิด “enhancing the Thai-Myanmar economic strategic partnership” เพื่อส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันอย่างหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์

 

 

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา

๑๕ มกราคม ๒๕๕๙


« Back to Result