พัฒนาการด้าน ICT

18 มีนาคม 2559
พัฒนาการด้าน ICT

 พัฒนาการด้าน ICT ของ เมียนมา

 

๑.     สถานะด้าน ICT และ digital economy ของเมียนมา

.นโยบายรัฐบาล รัฐบาลเมียนมาได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงนโยบายการพัฒนา ICTและภาคโทรคมนาคมโดยรวมมีเป้าหมายหลัก ได้แก่

                () การเพิ่มระบบโทรคมนาคมในพื้นที่ หรือ “tele-density”

                () การส่งเสริมให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงบริการด้านโทรคมนาคมได้ทั่วประเทศ ในราคาที่เหมาะสม

                () การให้ประชาชนและภาควิสาหกิจมีทางเลือกบริการโทรคมนาคม และบริษัทที่ให้บริการด้านโทรคมนาคม

                () การพัฒนาระบบ ICT ท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในภาพรวม

          รัฐบาลได้เปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในภาคโทรคมนาคมเมื่อปี ๒๕๕๖ และได้ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจด้านโทรคมนาคมแก่บริษัท Telenor ของนอร์เวย์ และ Ooredooของกาตาร์ ทำให้การแข่งขันในการให้บริการด้านโทรคมนาคมเปิดกว้างขึ้นจากเดิมที่มีเพียง Myanma Posts and Telecommunications (MPT) ของรัฐผูกขาดเพียงเจ้าเดียว

          นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกกฎหมายด้านโทรคมนาคม (Telecommunications Law)       เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ

(๑)  สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีด้านโทรคมนาคม

(๒)  ส่งเสริมให้ภาคโทรคมนาคมมีคุณภาพสูง ด้วยการเปิดรับการลงทุนจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

(๓)  ขยายเครือข่ายด้านโทรคมนาคม

(๔)  คุ้มครองผู้ใช้บริการด้านโทรคมนาคม

(๕)  ตรวจสอบบริการด้านโทรคมนาคมเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง

ต่อมา เมื่อปี ๒๕๕๗ รัฐบาลได้ออกกฎระเบียบเรื่องการแข่งขันในภาคโทรคมนาคม (Telecommunications Rules and Regulations) และMPTร่วมมือกับ KDDI Corporation และ Sumitomo Corporation ของญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถแข่งขันกับ Telenor และ Ooredooได้

          รัฐบาลเมียนมาได้เปิดรับสมัครการลงทุนในภาคโทรคมนาคมเพื่อคัดเลือกบริษัทที่จะให้บริการด้านโทรคมนาคมเป็นรายที่ ๔ ถัดจากTelenor, Ooredooและ MPT โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาผู้สมัคร ๗ บริษัท ได้แก่ () Singtelของสิงคโปร์ () Viettelของเวียดนาม () China Telecom () Free ของฝรั่งเศส () MTNของแอฟริกาใต้ () ICOMของฮ่องกง และ () Beijing Xinwei โดยใบอนุญาตลงทุนจะมีวาระ ๑๕ ปี และสามารถต่ออายุได้อีก ๑๐ ปี

          .รัฐบาลเมียนมาได้ร่าง Telecommunications Master Planซึ่งมุ่งให้ประชากรกว่าร้อยละ ๙๐ สามารถเข้าถึงระบบโทรศัพท์ได้และมากกว่าร้อยละ ๘๕ เข้าถึง internet ได้ ตลอดจนมากกว่าร้อยละ ๕๐ มี high speed internet ภายในปี ๒๕๖๓

          .Myanmar ICT Development Corporation Limited (MICTDC)เป็นบริษัทหลักที่พัฒนา ICT ในเมียนมา ที่เชื่อมโยงภาครัฐกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้าน ICT

          MICTDC ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๔ และประกอบด้วยบริษัทเอกชน ๕๐ แห่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้าน ICT ในเมียนมา และได้จัดตั้ง ICT Park แห่งแรกในย่างกุ้งเมื่อปี ๒๕๔๕ ซึ่งทำงานด้าน broad band connectivity การพัฒนาบุคลากรด้าน ICT การส่งเสริมธุรกิจด้าน ICT และผู้ประกอบการด้าน ICT

          บริษัทในเครือMICTDC ให้บริการด้าน Software Development, Web Development, Security, Network Solutions, Geographical Information System, Engineering Solutions และ Information Data Processing Services

          .รัฐบาลเมียนมาได้สร้าง Yadanabon Cyber City ขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๙ ที่เมือง Aneskhanหางจากเมืองมัณฑะเลย์ ๖๗ กม. เพื่อเป็น Silicon Valley ของเมียนมา โดยในขณะนี้ จีนได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิต microchip เพื่อส่งออกแล้ว

          .การศึกษา รัฐบาลเมียนมาส่งเสริมการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้บริหารจัดการการศึกษาในสาขานี้ในระดับมหาวิทยาลัย      ๖ แห่ง ได้แก่ () Yangon University of Technology () Mandalay University of Technology () Pyay Technology University () Yangon University of Computer Studies and Technology () Mandalay University of Computer Studies and Technology และ () University of Technology, Yatanapon Cyber City

          .สถิติด้านโทรคมนาคมการเข้าถึงด้านโทรคมนาคม (Telecom penetration)ของเมียนมาเติบโตอย่างรวดเร็วจากร้อยละ ๑๐ ปี ๒๕๕๖ เป็นกว่าร้อยละ ๖๐ เมื่อเดือนกันยายน ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นการขยายการเข้าถึงการให้บริการด้านโทรคมนาคมที่เร็วที่สุดอันดับ ๔ ของโลกหลังจากอินเดีย จีน และสหรัฐอเมริกา

          ปัจจุบัน ผู้ใช้บริการด้านโทรคมนาคมมีsmartphone ประมาณร้อยละ ๖๐ ๗๐           ซึ่งถือว่าสูงมากและนักวิจัยคาดว่า ภายในปี ๒๕๗๓ ภาค ICT ของเมียนมาจะสนับสนุน GDP ของเมียนมาได้๖.๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการจ้างงาน๒๔๐,๐๐๐ คน

 

. โอกาสความร่วมมือระหว่างไทยกับเมียนมาด้าน ICT

-    การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านโทรคมนาคม

-    การพัฒนาบุคลากร

-    การเพิ่มขีดความสามาถด้านเทคนิค



« Back to Result