Update เศรษฐกิจเมียนมา

21 สิงหาคม 2560

ในปี ๒๕๖๐ สถาบันการเงินระหว่างประเทศได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเมียนมาจะเติบโตประมาณร้อยละ ๖ – ๗.๓ ซึ่งจะใกล้เคียงกับการเติบโตของเศรษฐกิจเมียนมาเมื่อปี ๒๕๕๙ ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ ๖.๕ ตามข้อมูลของกระทรวงวางแผนและการคลังของเมียนมา ทั้งนี้ รัฐบาลเมียนมายังคงเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีพัฒนาการที่น่าสนใจในช่วงกลางปี ๒๕๖๐ ดังนี้

.  ภาพรวมและนโยบายด้านเศรษฐกิจ

     ๑.๑ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ ของเมียนมา (๑ เมษายน ๒๕๖๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑) สถาบันการเงินระหว่างประเทศและธนาคารกลางของเมียนมาคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา ดังนี้

 

หน่วยงาน

การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา

World Bank

ร้อยละ ๖.๕

ADB

ร้อยละ ๖.๔

ASEAN+3 Macroeconomic Research Office

ร้อยละ ๖

IMF

ร้อยละ ๖

ธนาคารกลางเมียนมา

ร้อยละ ๗.๓

 

              ๑.๒ ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมา ได้แก่ การเติบโตในภาคการเกษตร การยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมา ซึ่งมีแนวโน้ม    ที่จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ รัฐบาลได้แถลงเป้าหมายที่จะส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ ให้สูงถึงร้อยละ ๗ และให้ความสำคัญกับการปฏิรูปห่วงโซ่อุปทานด้านการเกษตร การผลิตสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่ม การพัฒนา SME ด้านการเกษตร การสนับสนุน SME ที่เน้นการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า อย่างไรก็ดี รัฐบาลเมียนมาได้รับการโจมตีจากนักธุรกิจท้องถิ่นและนักธุรกิจต่างชาติ ว่ายังดำเนินการไม่เพียงพอและไม่เร็วพอด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากทุ่มเทเวลาไปกับการปรองดองและกระบวนการสันติภาพเป็นอันดับต้น โดยเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐  นาย Serge Pun นักธุรกิจอันดับต้น ๆ ของเมียนมา ได้ให้สัมภาษณ์ในเชิงตำหนิรัฐบาลเมียนมา ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสังคมเมียนมา และปรากฏในสื่อไทยด้วย

 ๑.๓ รัฐบาลตระหนักถึงข้อจำกัดในการพัฒนาประเทศ สืบเนื่องจากปีงบประมาณ ที่เริ่มเดือนเมษายน (ก่อนฤดูฝน ๔ เดือน) ทำให้การดำเนินงานต่างๆ ทำไปได้ล่าช้าในช่วงติดฤดูฝน จึงได้เสนอให้ปรับปีงบประมาณให้เริ่มต้นเดือนตุลาคม แทน

๒.  การค้า-การลงทุน

     ๒.๑ ในเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ ไทยเป็นนักลงทุนอันดับ ๓ ของเมียนมา รองจากจีน       และสิงคโปร์ โดยมีจำนวนโครงการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบ ๑๐๘ โครงการ มูลค่าลงทุน ๑๐,๙๒๙.๙๒๖ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือร้อยละ ๑๕.๑๒ ของการลงทุนจากการลงทุนทั้งหมด

     ๒.๒ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๖๐ (๒๙ มิถุนายน) บริษัท Amata Group ของไทยได้ลงนาม Letter of Intent (LOI) กับรัฐบาลภาคย่างกุ้ง เพื่อพัฒนา AMATA Yangon Smart & Eco-city ให้เป็นเมืองอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในพื้นที่ระหว่างเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวากับท่าอากาศยาน Hanthawaddy โดยมีเป้าหมายเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และเพิ่มการสร้างงาน ตลอดจนมีบริษัท PTT รับผิดชอบการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ ทั้งนี้ การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมใหม่แห่งนี้

               ๒.๓ ในปี ๒๕๖๐ บริษัท LP Holding ของไทย และ บริษัท Accor Hotels ของฝรั่งเศส ได้ลงนามสัญญาร่วมเพื่อเปิดโรงแรม Pullman Yangon Centrepoint ที่กรุงย่างกุ้ง และ Mercure Mandalay Hill Resort ที่เมือง มัณฑะเลย์ รวมทั้งจะเปิดโรงแรม Mandalay Hill Resort McGallery ภายในปี ๒๕๖๔

     .๔ รัฐบาลเมียนมาอนุญาตให้ บริษัท Puma Energy Asia Sun ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท Puma (ถือหุ้นร้อยละ ๘๐  และ สำนักงาน ใหญ่อยู่ที่สิงคโปร์) และ บริษัท Asia Sun (ถือหุ้นร้อยละ ๒๐ และเป็นบริษัทเมียนมา) ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติรายแรก ให้สามารถนำเข้า ขนส่ง และขายน้ำมันเชื้อเพลิงในเมียนมาได้ โดยก่อนหน้านี้การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอนุญาตและจำกัดให้เฉพาะบริษัทท้องถิ่น

๓.  การเงินการคลัง

     ๓.๑ ในอนาคตสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของไทย และเมียนมา มีแผนจะลงนาม MoU เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาตลาดทุน 

              ๓.๒ เมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ นาย Set Aung รองผู้ว่าธนาคารกลางแห่งเมียนมา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและการคลังเมียนมา ทำให้กระทรวงวางแผนฯ มีรัฐมนตรีช่วย ๒ คน เพื่อแบ่งเบาภารกิจ ทั้งนี้ นาย Set Aung จะรับผิดชอบงาน ๗ กรม ด้านการวางแผน และจะช่วยงานด้านการคลังเมื่อจำเป็น ส่วนนาย Maung Maung Win รัฐมนตรีช่วยอีกคน จะรับผิดชอบงานอีก ๑๓ กรม ที่เหลือ ทั้งนี้ นาย Set Aung เป็นบุคคลที่มีความสามารถ และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขว้าง รวมทั้งเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยกระทรวงวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจ ภายใต้รัฐบาล Thein Sein 

     .๓ เมื่อ ๓๑ ก.ค. ๒๕๖๐ ธนาคาร EXIM Thailand และธนาคาร KBZ ของเมียนมา     ได้ลงนาม MOU เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่าง ๒ ประเทศ โดยธนาคาร KBZ ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมช่องทางที่ถูกกฎหมายให้แรงงาน เมียนมา สามารถส่งเงินกลับบ้านได้ และส่งเสริม    การทำการค้าที่ถูกกฎหมาย ส่วนธนาคาร EXIM Thailand ส่งเสริมการแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนสนับสนุนการทำธุรกรรมของลูกค้าของทั้ง ๒ ฝ่าย

๔.  โครงการของเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในเมียนมา ไทยได้ให้ความช่วยเหลือเมียนมา ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทยจัดโครงการฝึกอบรม SME และธนาคารไทยพาณิชย์จัดหลักสูตรฝึกอบรมให้แก่ผู้บริหารธนาคารเมียนมา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ร่วมมือกับ MIT จัดตั้ง Innovation-Driven Entrepreneurship (IDE) Academy ที่เมียนมาด้วย

    

*******************************************

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา

๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐


« Back to Result