มม. อนุญาตให้มีการใช้สกุลเงินบาท – จั๊ต ชําระเงินโดยตรงในการค้าชายแดน และอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุญาตให้ใช้สกุลเงินของ อด. เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้

22 เมษายน 2565

มม. อนุญาตให้มีการใช้สกุลเงินบาท – จั๊ต ชําระเงินโดยตรงในการค้าชายแดน และอยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุญาตให้ใช้สกุลเงินของ อด. เพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้

มม. ได้อนุญาตให้มีการชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินบาทกับสกุลเงินจั๊ต ณ บริเวณชายแดน
ไทย - มม. เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างกัน ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลาง มม. 
(Central Bank of Myanmar: CBM) ได้อนุญาตให้มีการชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินหยวนกับจั๊ตสำหรับกิจการการค้าชายแดนระหว่างจีนกับ มม. และได้ขยายการอนุญาตให้ครอบคลุมถึงการชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินบาทกับจั๊ตด้วยในเวลาต่อมา ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่สำคัญเนื่องจากไทยเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของ มม. รองจากจีน หลังจากนี้ รบ. มม.
อยู่ระหว่างวางแผนที่จะอนุญาตให้มีการใช้สกุลเงินรูปีของ อด. กับสกุลเงินจั๊ตโดยตรงในลักษณะเดียวกัน
เพื่อส่งเสริมการค้าตามแนวชายแดน มม. - อด. ต่อไป การอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนเงินโดยตรงโดยที่ไม่ต้องผ่านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 
(Non - US dollar direct currency settlement for border trade) นั้น จะช่วยส่งเสริมให้มูลค่าการค้าชายแดนระหว่าง มม. กับ ปท. เพื่อนบ้านขยายตัว อีกทั้งยังช่วยส่งเสริม คสพ. ทวิภาคีระหว่างกันอีกด้วย

การชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินบาท-จั๊ต ได้อนุญาตให้สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน มี.ค. ๖๕ เป็นต้นไป โดยธนาคารกลาง มม. จะอนุญาตให้มีการเริ่มชำระเงินผ่านระบบดิจิทัล จากเดิมที่พึ่งพาการใช้เงินสดเป็นหลัก ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ มม. พบว่า ในปี งปม. ๖๔/๖๕ ไทยกับ มม. มีมูลค่าการคาชายแดนทั้งสิ้น ๔.๓ พันลานดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ๓.๙ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มม. ดำเนินการค้าชายแดนกับไทยผ่านช่องทางจุดผ่านแดนทางบก ๗ แห่ง ได้แก่ (๑) ท่าขี้เหล็ก (๒) เมียวดี (๓) เกาะสอง (๔) มะริด (๕) ทิกิ (๖) มอต่อง และ (๗) มิซี โดยด่านการค้าชายแดนเมียวดีเป็นด่านชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุด รองลงมาคือ ด่านทิกิ

การค้าระหว่าง มม. กับ ปท. เพื่อนบ้าน คิดเป็นมูลค่ากว่าร้อยละ ๗๐ ของปริมาณการค้าทั้งหมดของ มม.
การชำระเงินโดยตรงระหว่างสกุลเงินท้องถิ่นโดยไม่ต้องผ่านสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐนั้น จะช่วยให้ ศก. รปท. ขยายตัวมากขึ้น อำนวยความสะดวกการค้าทวิภาคี การเคลื่อนย้ายสินค้า รปท. อีกทั้งจะช่วยยกระดับ
ความร่วมมือทาง ศก. ระดับภูมิภาคให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ ยังลดปัญหาอัตราเงินเฟ้อใน มม. ที่สูงขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน และช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเงินสดภายใน ปท. ด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ ศก. ของ ปท. ฟื้นตัวและขยายตัวตามเป้าหมายในปี งปม. ๖๕/๖๖

ที่มา:    นสพ. Global News Light of Myanmar วันที่ ๑๖ มี.ค. ๖๕

« Back to Result


Related News