Thai-Myanmar Relations
เมียนมาเป็นประเทศเพื่อนบ้านสำคัญของไทยที่มีพรมแดนติดต่อกันยาวที่สุดถึง 2,401 กิโลเมตร ความมั่นคงและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับไทย และถือว่าเป็นประโยชน์ร่วมกัน ไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการกระชับความสัมพันธ์ และส่งเสริมความร่วมมือกับเมียนมาร์ให้มีความคืบหน้าทุกมิติ
1. ความสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงต่อเนื่อง การเยือนที่สำคัญครั้งหลังสุด ได้แก่ การเสด็จเยือนเมียนมาอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 3 – 6 ตุลาคม 2557 ซึ่งมีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐบาลและประชาชนให้แน่นแฟ้นขึ้นอย่างมาก
2. ตั้งแต่เมียนมาเริ่มการปฏิรูป เมียนมาได้ให้ความร่วมมือกับไทยในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านแรงงาน การปราบปรามยาเสพติด การอำนวยความสะดวกด้านการข้ามแดน สาธารณสุข การต่อต้านการค้ามนุษย์ และความร่วมมือ เพื่อการพัฒนา
3. กลไกทวิภาคีหลักที่สำคัญ อาทิ
(1) คณะกรรมาธิการร่วม (Thailand – Myanmar Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC)
(2) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee: JBC)
(3) คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Commission: JTC)
(4) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee- HLC) ของฝ่ายทหาร
(5) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) เกี่ยวกับความมั่นคงชายแดน
นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมืออย่างกว้างขวางในกรอบอนุภูมิภาค เช่น GMS และ ACMECS และในกรอบของอาเซียนด้วย
4. การสัญจรข้ามแดน ไทยและเมียนมามีจุดผ่านแดนถาวร 6 จุด ได้แก่
(1) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย - จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 1
(2) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย - จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2
(3) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่1
(4) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2
(5) บ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี - บ้านทิกิ ภาคตะนาวศรี และ
(6) อำเภอเมือง จังหวัดระนอง - จังหวัดเกาะสอง ภาคตะนาวศรี
นอกจากนี้ ไทยและเมียนมายังมีจุดผ่อนปรนพิเศษ 1 จุด คือ ด่านสิงขร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - บ้านมอต่อง จังหวัดมะริด ภาคตะนาวศรี จุดผ่านแดนชั่วคราว (เพื่อการท่องเที่ยว) 1 จุด คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี - เมืองพญาตองซู รัฐกะเหรี่ยง และจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน 13 จุด ที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดระนอง
1. ความสัมพันธ์อยู่ในระดับดีมาก มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงต่อเนื่อง การเยือนที่สำคัญครั้งหลังสุด ได้แก่ การเสด็จเยือนเมียนมาอย่างเป็นทางการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 3 – 6 ตุลาคม 2557 ซึ่งมีส่วนช่วยกระชับความสัมพันธ์ทั้งระดับรัฐบาลและประชาชนให้แน่นแฟ้นขึ้นอย่างมาก
2. ตั้งแต่เมียนมาเริ่มการปฏิรูป เมียนมาได้ให้ความร่วมมือกับไทยในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านแรงงาน การปราบปรามยาเสพติด การอำนวยความสะดวกด้านการข้ามแดน สาธารณสุข การต่อต้านการค้ามนุษย์ และความร่วมมือ เพื่อการพัฒนา
3. กลไกทวิภาคีหลักที่สำคัญ อาทิ
(2) คณะกรรมการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee: JBC)
(3) คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า (Joint Trade Commission: JTC)
(4) คณะกรรมการระดับสูง (High Level Committee- HLC) ของฝ่ายทหาร
(5) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (Regional Border Committee - RBC) เกี่ยวกับความมั่นคงชายแดน
นอกจากนั้น ยังมีความร่วมมืออย่างกว้างขวางในกรอบอนุภูมิภาค เช่น GMS และ ACMECS และในกรอบของอาเซียนด้วย
4. การสัญจรข้ามแดน ไทยและเมียนมามีจุดผ่านแดนถาวร 6 จุด ได้แก่
(1) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย - จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 1
(2) อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย - จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำสาย แห่งที่ 2
(3) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่1
(4) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก - จังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ณ สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมา ข้ามแม่น้ำเมย/ตองยิน แห่งที่ 2
(5) บ้านพุน้ำร้อน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี - บ้านทิกิ ภาคตะนาวศรี และ
(6) อำเภอเมือง จังหวัดระนอง - จังหวัดเกาะสอง ภาคตะนาวศรี
นอกจากนี้ ไทยและเมียนมายังมีจุดผ่อนปรนพิเศษ 1 จุด คือ ด่านสิงขร อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ - บ้านมอต่อง จังหวัดมะริด ภาคตะนาวศรี จุดผ่านแดนชั่วคราว (เพื่อการท่องเที่ยว) 1 จุด คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี - เมืองพญาตองซู รัฐกะเหรี่ยง และจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน 13 จุด ที่จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดระนอง
ด้านการเมือง
ไทยและเมียนมาร์มีความสัมพันธ์กันมายาวนาน ในอดีตสถานการณ์ความไม่สงบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมาร์ ส่งผลให้บางช่วงเวลาความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น เกิดความหวาดระแวงระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม แม้เมียนมาร์จะถูกคว่ำบาตรจากประชาคมระหว่างประเทศ แต่ไทยในฐานะเพื่อนบ้านติดกัน ก็พยายามคงความสัมพันธ์ที่ดีไว้ และพยายามผลักดันนโยบายเกี่ยวพันเชิงสร้างสรรค์ (constructive engagement) เนื่องจากเห็นว่าการโดดเดี่ยวเมียนมาร์ โดยไม่พยายามเข้าใจความเป็นจริงในเมียนมาร์ ไม่ส่งผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยและสังคมเมียนมาร์ แต่การเปิดโอกาสให้เมียนมาร์ได้รับรู้พัฒนาการความเป็นไป มุมมอง และความคาดหวังของประชาคมระหว่างประเทศ น่าจะช่วยให้เมียนมาร์เข้าใจ และปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาคมระหว่างประเทศ โดยไทยได้สนับสนุนให้เมียนมาร์เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนจนเป็นผลสำเร็จในปี 2540
ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย-เมียนมาร์ในยุคปฏิรูปของเมียนมาร์ดำเนินไปด้วยดี ในทุกด้าน ดังจะเห็นได้จากการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างผู้นำระดับสูงของทั้งสองฝ่ายเป็นระยะๆ การฟื้นฟูกลไกความร่วมมือทั้งในกรอบคณะกรรมาธิการร่วม (JC) คณะกรรมการชายแดนทั้ง JBC RBC และคณะกรรมการปักปันเขตแดน การเพิ่มพูนความร่วมมือต่างๆ ระหว่างกัน ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างมากและต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อาทิ การปราบปรามยาเสพติด การปราบปรามการค้ามนุษย์และผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง การจัดระเบียบแรงงานเมียนมาร์ในไทย และการยกระดับจุดผ่านแดนชั่วคราวและถาวรเป็นจุดผ่านแดนสากล 4 แห่ง (ท่าขี้เหล็ก-แม่สาย เมียวดี-แม่สอด เกาะสอง-ระนอง และทิกิ-บ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี) ตลอดจนความร่วมมือด้านการข้ามแดน ซึ่งทั้งสองฝ่ายกำลังหารือ เรื่องการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา และการเปิดให้ผู้ถือบัตรผ่านแดนสามารถเดินทางเข้าถึงพื้นที่ของอีกฝ่ายหนึ่งได้มากขึ้น
นอกจากนี้โดยที่เมียนมาร์อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญทางการเมือง ไทยได้สนับสนุนพัฒนาการ ประชาธิปไตยและกระบวนการปรองดองแห่งชาติของเมียนมาร์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีบทบาทสนับสนุนเมียนมาร์ในเวทีการประชุมระหว่างประเทศทั้งในระดับภูมิภาคและพหุภาคี และเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรตลอดจนส่งเสริมให้ประชาคมระหว่างประเทศสนับสนุนเมียนมาร์อย่างสร้างสรรค์
ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ
ด้านการค้า
ในปี ๒๕๕๘ การค้ารวมคิดเป็นมูลค่า ๒๖๑,๙๗๕.๑๒ ล้านบาท (ลดลงร้อยละ ๐.๖ จากปี ๒๕๕๗) ไทยส่งออก ๑๔๐,๗๘๙.๕๕ ล้านบาท (เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓๒) นำเข้า ๑๒๑,๑๘๕ ล้านบาท (ลดลงร้อยละ ๔.๗๙ เนื่องจากมูลค่าการนำก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์เข้าประเทศไทยลดลงจากการลดลงของราคาเชื้อเพลิงธรรมชาติในตลาดโลก) ได้ดุลการค้า ๑๙,๖๐๓.๙๗ ล้านบาท เป็นการค้าชายแดนมูลค่า ๒๑๔,๖๙๔.๓๘ ล้านบาท หรือร้อยละ ๘๑.๙๕ ของมูลค่าการค้ารวม
ด้านการลงทุน
ไทยมีการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี ๒๕๓๒ – มกราคม ๒๕๕๙ มูลค่า ๑๑๔,๘๐๔.๓๗ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๖.๕๔ ของการลงทุนจากต่างชาติ เป็นอันดับ ๖ รองจากจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร และเกาหลีใต้ สาขาการลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ พลังงาน การผลิต ประมง และปศุสัตว์ ผู้ลงทุนรายใหญ่ อาทิ ปตท.สผ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย (กฟผ.) อิตาเลียนไทย ซีพี และเครือซิเมนต์ไทย ทั้งนี้ รัฐบาลไทยส่งเสริมการลงทุนและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนไทยในเมียนมาร์อย่างมีความรับผิดชอบ
ความร่วมมือทางวิชาการและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาภาพรวม
ไทยเริ่มให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแก่เมียนมาร์ในรูปแบบของการให้ทุนฝึกอบรม/ดูงานตั้งแต่ ปี 2504 ต่อมาในปี 2531 ไทยได้พัฒนาการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับทวิภาคีอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยให้ความสำคัญกับความต้องการของประเทศผู้รับ (Demand Driven Approach) และความชำนาญของไทยซึ่งมีศักยภาพในสาขาที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการพัฒนา เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข โดยรัฐบาลเมียนมาร์สามารถเสนอคำขอรับความร่วมมือทางวิชาการจากรัฐบาลไทยผ่านกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมาร์ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลการรับความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจากต่างประเทศ โดยรูปแบบของการให้ความร่วมมือทวิภาคี ประกอบด้วยโครงการพัฒนาต่าง ๆ การให้ทุนการศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำปรึกษา และการจัดส่งอาสาสมัครไทยมาปฏิบัติงานในเมียนมาร์
ต่อมาในปี 2555 ไทยได้พัฒนาการให้ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระดับทวิภาคีในลักษณะแผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระยะ 3 ปี ระหว่างปี 2556 – 2558 โดยรูปแบบการให้ความร่วมมือประกอบด้วย
- การให้ทุนศึกษาระดับปริญญาโทปีละ 15 ทุน
- การให้ทุนฝึกอบรมดูงาน 250 ทุน/ 25 หลักสูตร)
- การดำเนินงานแผนงานความร่วมมือจำนวน 5 แผนงาน ได้แก่
- แผนงานการพัฒนาศักยภาพ ด้านการพยากรณ์อากาศ ระบบการเตือนภัย และการฟื้นฟูพื้นที่ภาคอิระวดีและภาคย่างกุ้ง (พื้นที่ประสบภัยจากพายุนาร์กีส)
- แผนงานความร่วมมือสาขาเกษตร (เน้นเรื่อง Food Security)
- แผนงานส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศในเมียนมาร์
- แผนงานพัฒนาการท่องเที่ยว
- แผนงานสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2556 และการเป็นประธานอาเซียนของเมียนมาร์ในปี 2557
ในปี 2556 ถึงปัจจุบันไทยให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาร์ ดังนี้
- มอบทุนการศึกษาระดับปริญญาโทจำนวน 18 ทุน และทุนฝึกอบรม 47 หลักสูตร 262 ทุน รวมจำนวนผู้รับทุนมากกว่า 152 คน
- ดำเนินโครงการต่าง ๆ ได้แก่
- โครงการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย (Curriculum Development in Teaching Thai Language)
ที่ Yangon University of Foreign Language (YUFL) ประกอบด้วยการให้ทุนการศึกษา ระดับปริญญาโทแก่อาจารย์เมียนมาร์ มอบอุปกรณ์การเรียนการสอน และส่งอาสาสมัครไทยมาปฏิบัติงาน เป็นอาจารย์สอนภาษาไทย จำนวน 4 ราย
- โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลทวาย (Project on Capacity Building for Dawei Hospital)
ฝ่ายไทยได้ส่ง fact-finding mission ไปศึกษาและรวบรวมความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลตามศักยภาพของไทยและความต้องการของเมียนมาร์ ในเบื้องต้นอาจพิจารณาปรับปรุงห้อง ICU ของ รพ. ทวายให้สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากขึ้นและมีมาตรฐาน รวมทั้ง จัดสรรอุปกรณ์ต่าง ๆ และจัดฝึกอบรมดูงานให้บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาล ณ โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาณจนบุรีเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และเสริมสร้างเครือข่ายในการป้องกันและรักษาโรคร่วมกัน ระหว่างทั้งสองโรงพยาบาล
- โครงการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีทวาย (Capacity Building for Teaching and Learning of the Technological university of Dawei)
ฝ่ายไทยได้ส่ง fact-finding mission ไปศึกษาและรวบรวมความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนืออยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการพัฒนาโรงพยาบาลตามศักยภาพของไทยและความต้องการของเมียนมาร์
- โครงการสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมสำหรับโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ ตามแนวชายแดนไทย- เมียนมาร์ (Building Awareness and Preparedness for Communicable Diseases and Emerging Disese along the Thailand – Myanmar)
โดยดำเนินการระหว่างจังหวัดตาก (สาธารณสุขจังหวัดตาก) กับเมียวดี เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านสาธารณสุขชายแดนในการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันเกี่ยวกับโรคระบาดต่าง ๆ รวมทั้งการป้องกันและเฝ้าระวังโรคระบาดข้ามแดน
- โครงการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย (Curriculum Development in Teaching Thai Language)
- การดำเนินงาน 2 แผนงาน ได้แก่
- แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการพยากรณ์อากาศ ระบบการเตือนภัยและฟื้นฟูภาคอิระวดีและภาคย่างกุ้ง
โดยสนันสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาและเกษตรทุนฝึกอบรมดูงานอุปกรณ์เกี่ยวการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลในการพยากรณ์อากาศสำหรับจัดตั้งสถานีชายฝั่ง 20 แห่ง เครื่องตอบรับโทรศัพท์อัตโนมัติ เครื่องมือซ่อมอุปกรณ์อุตุฯ และบอลลูนตรวจสอบสภาพอากาศ
- ความร่วมมือแผนงานสาขาเกษตร 3 ปี ภายใต้หัวข้อ "Food Security" มีดังนี้
- โครงการวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (The Foot and Mouth Disease (FMD) Vaccine Project)
สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ทุนฝึกอบรม/ดูงาน และวัสดุอุปกรณ์ให้ห้องทดลอง จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อ PCR for FMD Diagnosis and FMD Vaccine Quality Control โดยเชิญผู้แทนกรมปศุสัตว์เมียนมาร์เข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว
- โครงการพัฒนากระบือ (Buffalo Development Project)
ณ ศูนย์พัฒนาการเลี้ยง กระบือลาบุตตา ภาคอิระวดี(Labutta Buffalo Development Center) ได้สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ทุนฝึกอบรม/ดูงานแก่เจ้าหน้าที่เมียนมาร์ และอุปกรณ์ในการเพาะปลูกหญ้าเพื่อเป็นอาหารสัตว์ และจัด “Integrated Workshop on Buffalo Production, Processing and Utilization of Tropical Pasture to Sustain Buffalo Productivity” ให้แก่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ปะเต็ง ภาคอิระวดี พร้อมทั้งให้คำแนะนำเรื่องการจัดการฟาร์มและหญ้าเลี้ยงกระบือแก่เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เมียนมาร์
- โครงการวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (The Foot and Mouth Disease (FMD) Vaccine Project)
- แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการพยากรณ์อากาศ ระบบการเตือนภัยและฟื้นฟูภาคอิระวดีและภาคย่างกุ้ง
มูลค่าการให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่เมียนมาร์
ในช่วง ปี 2550-2554 เมียนมาร์ได้รับทุนภายใต้กรอบต่าง ๆ ดังนี้
1. กรอบทวิภาคีและไตรภาคี จำนวนทั้งสิ้น 1,619 ทุน มูลค่ารวมประมาณ 132 ล้านบาท ดังนี้
ปี | ทวิภาคี | TIPP | AITC | ไตรภาคี | จำนวนทุนรวม | มูลค่า/บาท |
---|---|---|---|---|---|---|
2550 | 167 | 14 | 52 | 46 | 279 | 24,782,000 |
2551 | 195 | 18 | 52 | 48 | 313 | 28,088,000 |
2552 | 242 | 24 | 60 | 95 | 421 | 39,000,000 |
2553 | 235 | 10 | 37 | 114 | 396 | 30,999,700 |
2554 | 86 | 1 | 3 | 120 | 210 | 10,121,900 |
รวม | 925 | 67 | 204 | 423 | 1,619 | 132,991,600 |
2. กรอบอนุภูมิภาค จำนวนทั้งสิ้น 220 ทุน มูลค่ารวมประมาณ 31.80 ล้านบาท
งบประมาณ
ในปี 2554 - 2556 ไทยสนับสนุนงบประมาณสำหรับความร่วมมือทวิภาคีให้แก่ เมียนมาร์ เป็นลำดับที่ 2 ในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน มูลค่ารวมประมาณ 137 ล้านบาท ดังนี้
ประเทศ |
ปีงบประมาณ | |||
---|---|---|---|---|
2554 | 2555* | 2556* | รวม 3 ปี (ล้านบาท) | |
ลาว | 63,172,500 | 72,177,600 | 99,376,100 | 234,726,200 |
เมียนมาร์ | 33,779,200 | 45,300,000 | 58,585,800 | 137,665,000 |
กัมพูชา | 2,427,600 | 33,000,000 | 47,440,800 | 82,868,400 |
เวียดนาม | 5,977,000 | 20,400,000 | 22,550,000 | 48,927,000 |
รวมทุกประเทศ | 105,356,300 | 170,877,600 | 227,952,700 | 504,186,600 |
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาร์ ในกรณีภัยพิบัติต่างๆ โดยไทยเป็นประเทศแรกที่ให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาร์ ภายหลังประสบพายุไซโคลนนาร์กีส และเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ได้มอบเงินช่วยเหลือแก่เมียนมาร์กรณีอุทกภัย จำนวน 2 ล้านบาท โดยเมียนมาร์ได้มอบเงินและสิ่งของช่วยเหลือแก่ไทยกรณีอุทกภัยปี 2554 เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ไทยได้มอบเงินช่วยเหลือแก่ เมียนมาร์สำหรับสถานการณ์ในรัฐยะไข่ จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ และล่าสเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2556 ไทยได้มอบเงินสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่หลังเหตุการณ์อุทกภัยที่เมืองเมียวดีจำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
การดำเนินงานของสถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงย่างกุ้ง
ในวาระครบรอบ 65 ปีแห่งการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย และเมียนมาร์ สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงย่างกุ้งได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเมียนมาร์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อาทิ
โครงการความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนมิตรภาพไทย-เมียนมาร์ โดยได้คัดเลือกโรงเรียน Basic Education Primary School ซึ่งตั้งอยู่ในเขต Thapyay Hla เมือง Pyinmana โดยจะปรับปรุงอาคารเรียนและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ตามความต้องการของกระทรวงศึกษาธิการเมียนมาร์ ภายในวงเงิน 1,230,000 บาท
-
โครงการความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตขาเทียม เพื่อปรับปรุงการให้บริการและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้พิการในเมียนมาร์ โดยร่วมมือกับมูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และ National Rehabilitation Hospital กรุงย่างกุ้ง กระทรวงสาธารณสุขเมียนมาร์ ซึ่งฝ่ายไทยสนับสนุนการปรับปรุงหน่วยขาเทียม มอบอุปกรณ์และวัสดุในการผลิตขาเทียมที่ได้มาตรฐานสากล และอบรมเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ภายในวงเงิน 4,032,000 บาท
ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม
ในการช่วงการฉลองครบรอบ 65 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-เมียนมาร์ ในปี 2556 ไทยกับเมียนมาร์ได้ร่วมมือกันจัดงานต่าง ๆ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในระดับภาคประชาชน ดังนี้
งานผ้าสองแผ่นดิน เป็นการเปิดศักราชการฉลองครบรอบ 65 ปี โดยนำผ้าพื้นเมืองของทั้งสองประเทศเป็นตัวเชื่อม เนื่องจากผ้าพื้นเมืองของทั้งสองประเทศมีลักษณะที่คล้ายกัน สะท้อนขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ใกล้ชิดกัน นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงเรื่องของการแสดง และอาหารที่สะท้อนให้เห็นถึงความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมระหว่างกัน งานนี้นอกจากจะได้รับความสนใจจากผู้ที่อยู่ในวงการแฟชั่น อาหาร หรือนาฏศิลป์ แต่ยังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างมาก
การแสดงดนตรี The Melodies of Friendship โดยวงประสานเสียงสวนพลู เป็นการเปิดศักราชแนวดนตรีการร้องเพลงประสานเสียงในเมียนมาร์เป็นครั้งแรก ถือว่าเป็นวงของไทยที่ได้รับคำชื่นชมและได้รับการตอบรับที่ดียิ่งจากสาธารณชนของเมียนมาร์
ด้านศาสนา โดยที่ทั้งสองประเทศนับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน ทำให้มีความใกล้ชิดกันในทุกระดับ ในแต่ละปีจะมีการเชิญผ้าพระกฐินพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาทอดถวายที่เมียนมาร์
ความร่วมมือด้านยาเสพติด
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) ได้ดำเนินงานครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่
ความร่วมมือด้านการข่าวและปฏิบัติการ โดยแลกเปลี่ยนข่าวสารและจัดตั้งจุดประสานงานใน 3 พื้นที่ ซึ่งมีความพร้อมและมีปัญหาการนำเข้ายาเสพติดในพื้นที่ประเทศไทย ได้แก่ อ. แม่สาย จ. เชียงราย กับ จ.ท่าขี้เหล็ก / อ. แม่สอด จ. ตาก กับ จ. เมียวดี / อ.เมือง จ. ระนอง กับ จังหวัดเกาะสอง
ความร่วมมือในการลดอุปทานยาเสพติด โดยไทยให้ความช่วยเหลือแก่เมียนมาร์ ในการลดพื้นที่ปลูกฝิ่น ลดการแพร่ระบาดและการค้ายาเสพติดโดยเน้นพื้นชายแดนไทย-เมียนมาร์ เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาอีกมิติหนึ่ง ซึ่งจะลดปัญหาอื่น ๆ ด้วย เช่น ปัญหาการหลบหนีเข้าเมืองเพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทย ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาด้านสาธารณสุข และปัญหาอาชญากรรมอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันไทยให้ความช่วยเหลือในโครงการพัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืน 2 แห่ง ได้แก่ หมู่บ้านจ่อผะ จ. เมืองสาด และพื้นที่เมืองตูม โดยสำนักงาน สปป. สนับสนุนงบประมาณ 300 ล้านบาท สำหรับระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (เริ่มต้นเมื่อเดือน ก.ย. 2555) และผู้รับผิดชอบโครงการ คือ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ
ความร่วมมือด้านวิชาการ โดยไทยให้ความร่วมมือแก่เมียนมาร์ ในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติดเมียนมาร์ในด้านการปราบปราม การให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในผลิตยาเสพติด การสืบสวนและการดำเนินคดียาเสพติด การตั้งจุดตรวจค้น รวมทั้งการพัฒนาระบบการข่าว และระบบการบริหารจัดการด้านการปราบปรามยาเสพติด
ประเด็นความร่วมมือสำคัญ / ประเด็นคั่งค้างต่างๆ
๑. การพัฒนาพื้นที่ชายแดนและความเชื่อมโยง
๑.๑ การเปิดจุดผ่านแดนถาวรเพิ่มเติม
เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ด่านสิงขร เป็น “จุดผ่อนปรนพิเศษ” ซึ่งต่อมาที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาเปิดจุดผ่านแดน ครั้งที่ ๖/๒๕๕๘ เมื่อ ๒๕ กันยายน๒๕๕๘ อนุญาตให้ขยายเวลาการพำนักสำหรับผู้เดินทางผ่านจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขรจากเดิม ๑ คืน ๒ วัน เป็น ๓ คืน ๔ วัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจ ตามที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เสนอ โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบการพิจารณายกระดับจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนที่ด่านห้วยต้นนุ่น (จังหวัดแม่ฮ่องสอน) ซึ่งจะต้องหารือในรายละเอียดต่อไป และมีจุดผ่านแดนที่มีศักยภาพทางการค้าและเศรษฐกิจอีกหลายจุด อาทิ (๑) กิ่วผาวอก (จังหวัดเชียงใหม่) และ (๒) พระเจดีย์สามองค์ (จังหวัดกาญจนบุรี) เป็นต้น
๑.๒ การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยง
๑) กระทรวงคมนาคมได้ให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า งบประมาณ ๑,๑๔๐ ล้านบาท เพื่อ (๑) ซ่อมสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ ๑ เชื่อมโยงอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก – เมืองเมียวดี (๒) ปรับปรุงถนนแม่สอด/ เมียวดี – เชิงเขาตะนาวศรี ระยะทาง ๑๗ กม. และ (๓) สร้างถนนช่วงต่อจากเชิงเขาตะนาวศรี – กอกะเร็ก รัฐกะเหรี่ยง ระยะทาง ๒๘ กม. ทั้งสามโครงการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยได้มีพิธีส่งมอบถนนสายเมียวดี – กอกะเร็ก เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๘
๒) คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณ ๓,๙๐๐ ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ ๒ ซึ่งรวมความช่วยเหลือทางการเงินแบบให้เปล่ามูลค่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับค่าก่อสร้างของเมียนมาร์ในการสร้างสะพานฯ ถนนเชื่อมและอาคาร จุดผ่านแดนในฝั่งเมียนมาร์ ขณะนี้ได้เริ่มก่อสร้างสะพานในฝั่งไทยแล้ว ในส่วนของเมียนมาร์ยังคงอยู่ระหว่างการเวณคืนที่ดิน โครงการน่าจะแล้วเสร็จไม่เกินปี ๒๕๖๐
๑.๓ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
ไทยจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก (อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด) โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ ด้านต่าง ๆ แก่นักลงทุน และอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวตามพื้นที่ชายแดนเข้ามาทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดแบบเช้ามา – เย็นกลับ หรือตามฤดูกาล พร้อมศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงกิจกรรม ทางเศรษฐกิจกับฝั่งเมียนมาร์ ซึ่งจะยังผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสองประเทศ
๒. โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
เมื่อปี ๒๕๕๕ ไทยกับเมียนมาร์ลงนาม MOU เพื่อร่วมมือดำเนินโครงการพัฒนาเขตเศรษฐพิเศษทวายและจัดตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-เมียนมาร์ เพื่อผลักดันโครงการ กับได้ลงนามกับญี่ปุ่นใน MOI สามฝ่าย ในระหว่างการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงครั้งที่ ๗ โดยญี่ปุ่นแสดงเจตจำนงที่จะร่วมมือในโครงการทวาย รวมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาด้านเทคนิค และจะมีส่วนร่วมจัดทำ Master Plan การพัฒนาโครงการทวายด้วย
๓. ความร่วมมือด้านแรงงาน
๓.๑ การจัดส่งแรงงานตาม MOU
สองฝ่ายเห็นชอบให้ปรับปรุงกระบวนการจัดส่งแรงงานตาม MOU (ต้องการเปลี่ยนจากการผ่านระบบบริษัทจัดหาแรงงานมาเป็นผ่านระบบ G-to-G) โดยให้ริเริ่มโครงการนำร่องในการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแบ่งปันข้อมูล และตั้งคณะทำงานเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบ
๓.๒ การพัฒนาฝีมือแรงงาน
กรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศจะทำโครงการที่ท่าขี้เหล็ก เมียวดี และทวาย
๔. การจัดทำความตกลงเพื่อยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดา
ไทยกับเมียนมาร์ได้ ลงนามความตกลงฯ โดยยกเว้นการตรวจลงตราเฉพาะผู้ที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานเมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ในระหว่างการประชุม JC ครั้งที่ ๘ โดยความตกลงดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ พำนักได้ ๑๔ วัน
๕. ความร่วมมือด้านการปราบปรามยาเสพติด
สองฝ่ายร่วมมือใกล้ชิดและคืบหน้ามาก โดยปัจจุบันสำนักงาน ป.ป.ส. โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ และคณะกรรมการกลางเพื่อการควบคุมยาเสพติดเมียนมาร์ (CCDAC) กำลังดำเนินโครงการพัฒนาทางเลือกเพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนในรัฐฉาน ซึ่งจะมีการขยายพื้นที่ดำเนินโครงการในจังหวัดท่าขี้เหล็กและจังหวัดเมืองสาดเพิ่มเติม ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นตัวอย่างความสำเร็จของการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development – AD) ซึ่งไทยผลักดันในเวทีระหว่างประเทศด้วย
๖. ความร่วมมือด้านพลังงาน
๖.๑ กรอบความร่วมมือ
เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๘ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพลังงงานเมียนมาร์ และกระทรวงไฟฟ้าเมียนมาร์ได้ลงนามใน MOU ระหว่างไทยกับเมียนมาร์ (๑) ว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงงาน และ (๒) ว่าด้วยความร่วมมือด้านไฟฟ้า ครอบคลุมความร่วมมือด้านปิโตรเลียม ตั้งแต่การสำรวจและผลิต จนถึงการพัฒนาการกลั่นน้ำมัน และผลิตปิโตรเคมี และความร่วมมือเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า รวมถึงการจัดตั้ง Joint Working Committee ๒ ชุด เพื่อร่วมกันกำหนดกรอบความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดประชุมเป็นประจำ
๖.๒ ก๊าซธรรมชาติ
ไทยนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์มากกว่าร้อยละ ๒๐ ของปริมาณที่ใช้ในไทย โดยมีแหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ (๑) ยาดานา (๒) เยตากุน และ (๓) ซอติก้า นอกจากนี้ ยังมีแหล่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งเมียนมาร์ และแหล่งก๊าซธรรมชาติและปิโตรเลียมบนบกด้วย
๖.๓ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ
มีโครงการพัฒนาซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีส่วนร่วมด้วย ได้แก่ (๑) เขื่อนมายต่อง ตรงข้ามจังหวัดเชียงราย (๒) เขื่อนฮัจจี ตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่นำสาละวินซึ่งอยู่ในขั้นตอนออกแบบศึกษา
๖.๔ โรงไฟฟ้า
เมื่อปี ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันแก๊ส ๒ เครื่อง ติดตั้งที่โรงไฟฟ้า Ywama Power Station ตั้งแต่ มกราคม ๒๕๕๗ เพื่อช่วยเหลือเมียนมาร์ซึ่งมีปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ และเริ่มแจกจ่ายกระแสไฟฟ้าในเมียนมาร์แล้ว
๗. ความร่วมมือภาคการเงินการธนาคารและตลาดทุน
๗.๑ ธนาคารไทย ๔ แห่ง (ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกสิกรไทย)
มีสำนักงานผู้แทนในเมียนมาร์ ล่าสุด เมื่อ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ธนาคารกรุงเทพได้รับใบอนุญาตให้เปิดสาขาในกรุงย่างกุ้งแล้ว
๗.๒ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้หารือกับธนาคารกลางเมียนมาร์
เพื่อขอให้ฝ่ายเมียนมาร์อนุญาตให้ใช้เงินบาทสามารถแลกเปลี่ยนกับเงินจั๊ตได้โดยตรงอย่างถูกกฎหมาย โดยล่าสุด ในที่ประชุม JC ไทย – เมียนมาร์ ครั้งที่ ๘ ฝ่ายเมียนมาร์อนุญาตให้สามารถใช้เงินบาทแลกเปลี่ยนกับเงินจั๊ตได้โดยตรงที่เคาน์เตอร์แลกเงินที่ลงทะเบียนถูกต้องแล้ว
๗.๓ เมียนมาร์เปิดทำการตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘
ขณะนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์มีความร่วมมือกับเมียนมาร์ในด้านการเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรและองค์กรด้วย เพื่อสนับสนุนการสร้างมาตรฐานด้านตลาดทุนของเมียนมาร์และสอดคล้องกับการพัฒนาตลาดทุนของภูมิภาค
๘. ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาและด้านมนุษยธรรม
๘.๑ ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่เมียนมาร์ผ่านกรมความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหลัก
โดยเฉพาะด้านการเกษตร การศึกษา และสาธารณสุข ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้รับจัดสรรงบประมาณ ๕๓.๕ ล้านบาท โดยเน้นส่งเสริมการดำเนินโครงการพัฒนาในพื้นที่ชายแดนไทย – เมียนมาร์
๘.๒ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศอยู่ระหว่างดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนในเมืองทวาย ๒ โครงการ
ได้แก่ (๑) โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลทวาย และ (๒) โครงการปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ด้านอาชีวศึกษาของโรงเรียนเทคนิคทวาย นอกจากนี้ ในที่ประชุม JC ไทย – เมียนมาร์ครั้งที่ ๘ กรมความร่วมมือระหว่างประเทศได้เสนอดำเนินโครงการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนในรัฐยะไข่เพิ่มเติม
๘.๓ ไทยให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมาร์ในกรณีต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
อาทิ พายุไซโคลน นาร์กิส แผ่นดินไหวที่รัฐฉาน สถานการณ์ในรัฐยะไข่ รวมทั้งเหตุอุทกภัยล่าสุดที่เกิดขึ้นเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘
๙. ความร่วมมือด้านประมง
ในที่ประชุม JC ครั้งที่ ๘ สองฝ่ายเห็นพ้องให้หารือการจัดทำความร่วมมือด้านประมงร่วมกัน โดยเมื่อ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ กรมประมงได้ส่งข้อเสนอโครงการฯ ให้ฝ่ายเมียนมาร์พิจารณาแล้ว ในชั้นนี้ อยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา
๑๐. ความตกลงไทย-เมียนมาร์เกี่ยวกับเศรษฐกิจและธุรกิจ
- ความตกลงทางการค้าไทย
- เมียนมาร์ ลงนามเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๓๒
- บันทึกความเข้าใจเพื่อการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าไทย
- เมียนมาร์ ลงนามเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
- ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ลงนามเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๓๖
- ความตกลงการค้าชายแดนไทย-เมียนมาร์ ลงนามเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๙
- ความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนไทย-เมียนมาร์ ลงนามเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
- ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๕