ข้อมูลทั่วไป

สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (The Republic of the Union of Myanmar)

Myanmar Map

· ตั้งแต่กองทัพเมียนมาเข้ายึดอำนาจเมื่อเดือน ก.พ. 2564 สถานการณ์ความขัดแย้งยังคงยืดเยื้อ โดยจนถึงปัจจุบัน ได้มีการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว 5 ครั้ง(จนถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568) ล่าสุด พล.อ.อาวุโส มิน ออง ไลง์ ประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งภายในปี 2568

· มีทรัพยากรสมบูรณ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบ ตลาดการค้า แรงงาน และแหล่งลงทุนสำคัญของไทย โดยเฉพาะด้านพลังงาน (ก๊าซธรรมชาติและไฟฟ้าพลังน้ำ)
· เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์โดยธรรมชาติ (Natural Strategic Partner) โดยมีพรมแดนทางบก ติดกับไทยยาวที่สุด (2,401 กม.) มีผลประโยชน์ร่วมกันในทุกมิติ และต้องร่วมมือกันแก้ไข
ความท้าทายหลายประการ เช่น ยาเสพติด การหลอกลวงออนไลน์ หมอกควันข้ามแดน แรงงานผิดกฎหมาย การค้ามนุษย์ โรคระบาด ความมั่นคงชายแดน และประเด็นเขตแดนต่าง ๆ

ข้อมูลทั่วไป

พื้นที่

657,740 ตารางกิโลเมตร

ประมุข
(โดยพฤตินัย) และนายกรัฐมนตรี

พล.อ.อาวุโส มิน ออง ไลง์ (Senior General Min Aung Hlaing) ในฐานะประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council : SAC)

เมืองหลวง

เนปยีดอ

ประชากร

54.83 ล้านคน

รัฐมนตรีต่างประเทศ

นายตาน ส่วย (U Than Swe) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 (ได้รับแต่งตั้งเป็น รองนายยกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อีกตำแหน่ง เมื่อวันที่ 3 ส.ค 2566)

ภาษาราชการ

เมียนมา

ศาสนา

พุทธ (89%) คริสต์ (5%) อิสลาม (4%) อื่น ๆ (2%)

วันเอกราช

4 มกราคม 2491 (ค.ศ. 1948)

วันสถาปนาความสัมพันธ์ ทางการทูตกับไทย

24 สิงหาคม 2491 (คริสต์ศักราช 1948) โดยในปี 2568
(คริสต์ศักราช 2025) ถือเป็นปีครบรอบ 77 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต



ข้อมูลเศรษฐกิจ (ข้อมูลจากธนาคารโลก)

GDP

79,266 ล้าน USD (ไทย 514,945 ล้าน USD)

สกุลเงิน

จั๊ต (1 จั๊ต/0.0169 บาท ณ สิงหาคม. 2567/คริสต์ศักราช 2024)

GDP per Capita

1,454.26 USD (ไทย 7,701.6 USD)

เงินทุนสำรอง

6.72 พันล้าน USD (ปี 2567/คริสต์ศักราช 2024)

GDP Growth

ร้อยละ 2.63 (ไทย ร้อยละ 2.6)

อุตสาหกรรมหลัก

เกษตร สิ่งทอ อัญมณี

อัตราเงินเฟ้อ

ร้อยละ 7.8 (ไทย ร้อยละ 1.54)

ทรัพยากรธรรมชาติ

น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี แร่ธาตุ

สินค้าส่งออกสำคัญ

ก๊าซธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากไม้ อาหารทะเล

ตลาดส่งออกสำคัญ

ไทย จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น

สินค้านำเข้าสำคัญ

เครื่องจักรกล สิ่งทอ น้ำมันสำเร็จรูป

ตลาดนำเข้าสำคัญ

จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย



สถิติที่สำคัญไทย

มูลค่าการค้าไทย-เมียนมา

เมียนมาเป็นคู่ค้าอันดับ 19 ของไทยในโลก และเป็นอันดับ 7 ในอาเซียน โดยในปี 2567 (คริสต์ศักราช 2024) การค้าไทย-เมียนมา
มีมูลค่ารวม 231,847.63 ล้านบาท (ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.34) ซึ่งเป็นการส่งออกไปเมียนมา 131,672.77 ล้านบาท
และการนำเข้า 100,174.86 ล้านบาท โดยไทยได้เปรียบดุลการค้า 31,497.91 ล้านบาท

สินค้าส่งออกของไทย

5 อันดับแรก ได้แก่ (1) น้ำมันสำเร็จรูป (2) เครื่องดื่ม (3) เคมีภัณฑ์ (4) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว
(5) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป

สินค้านำเข้าจากเมียนมา

5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ก๊าซธรรมชาติ (2) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (3) สินแร่โลหะ (4) เนื้อสัตว์สำหรับบริโภค (5) ผักและผลไม้

การลงทุน

มูลค่าการลงทุนสะสมของไทยที่ได้รับการอนุมัติจากทางการเมียนมาตั้งแต่ปี 2531 (คริสต์ศักราช 1988) - พฤศจิกายน 2567 (คริสต์ศักราช 2024) 11,678.673 ล้าน USD เป็นอันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และจีน สาขาการลงทุนที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ภาคการผลิต การขนส่งและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ การท่องเที่ยวและโรงแรม

การท่องเที่ยว

ในปี 2567 (คริสต์ศักราช 2024) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเมียนมายังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองภายในประเทศ ทั้งนี้ ในปี 2567 มีชาวเมียนมาเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย จำนวน 546,629 คน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเกือบ 1 เท่า)

คนไทยในเมียนมา

เดิมมีประมาณ 3,600 คน ส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจที่อาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ อย่างไรก็ดี ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง/เหตุการณ์ความไม่สงบ ทำให้ชาวไทยทยอยเดินทางกลับ โดยปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ 1,000 คน
(เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนกับ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง)

สำหนักงานไทยในเมียนมา

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง / สำหนักงาน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร (บก เรือ อากาศ) / สำหนักงาน ส่งเสริมการค้าใน ตปท. / สำหนักงาน ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด / สำหนัก ข่าวกรองแห่งชาติ / สำหนักงานผู้ช่วยทูตฝ่าย ตำรวจ

สำหนักงานเมียนมาในไทย

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย (รวมผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและแรงงาน) /สถานกงสุสใหญ่ เมียนมาประจำ จังหวัดเชียงใหม่ / ศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว จ.สมุทรสาคร



  

**********************************************************************

ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในเมียนมา

สถานะเดือนมกราคม 2568


Overview of Economic Opportunities in Myanmar's States and Regions:

  • Ayeyarwady Division
  • Bago Division
  • Chin State
  • Kachin State
  • Kayah State
  • Kayin State
  • Magway Division
  • Mandalay Division
  • Mon State
  • Rakhine State
  • Sagaing Division
  • Shan State
  • Tanintharyi Division
  •        Economic Overview of   Tanintharyi Division
  • Yangon Division
  • mapoverview.jpg

    Overview of Agricultural Opportunities in Myanmar's States and Regions

    myanmar_agriculture_map_0.jpg
    Source: Frontier Myanmar