— หน้าแรก — สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
-
เมียนมาเปิดตัวมาตรฐาน QR ระดับประเทศ Myanmar QR (MMQR) สำหรับการทำธุรกรรมทางการเงิน
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 ธนาคารกลางเมียนมาจัดพิธีเปิดตัวมาตรฐาน QR ระดับประเทศ Myanmar QR (MMQR) เพื่ออำนวยความสะดวกและยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน และการส่งเงินกลับของชาวเมียนมา รวมถึงเพื่อยกระดับมาตรฐานภาคการเงินของเมียนให้เท่ากับต่างประเทศ -
Bilateral Trade Situation between Myanmar and Thailand (as of 7 March 2022)
The border trade between Myanmar and Thailand hit USD 2,191.365 million as of 4 March 2022, according to a statistical report of Myanmar’s Ministry of Commerce. The bilateral trade between Myanmar and Thailand was dropped significantly due to the COVID-19 pandemic, political instability, depreciation of the local currency, and trade policy changes causing tremendous obstacles to traders from both sides. However, the increased demand in Myanmar is the main driving factor contributed to the bilateral trade expansion between the two countries. -
Myanmar joins Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) by Ministry of Investment and Foreign Economic Relations (MIFER)
Myanmar became a member of the world's largest Free Trade Area (FTA) by signing the Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) Agreement. It had been reported in newspapers and briefings among the Hluttaw’srepresentatives at PyidaungsuHluttaw. On 15 November 2020, Leaders and Ministers of Economy of each member state including H.E. Daw Aung San Suu Kyi, State Counsellor and H.E. U Thaung Tun, Union Minister for Investment and Foreign Economic Relations of Myanmar, participated in the Fourth RCEP Summitvia videoconference. H.E. U Thaung Tun also signed the aforementioned agreement during the Summit. In this regard, MIFER wishes to share some knowledge regarding the RCEP agreement. -
กระทรวงพาณิชย์เมียนมาเปิดตัวระบบ Myanmar TradeNet 2.0 เพื่อการขอใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกผ่านระบบออนไลน์
เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้เปิดตัวระบบ Myanmar TradeNet 2.0 (https://www.myanmartradenet.com/?locale=en) ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำร้อง ขอใบอนุญาตเกี่ยวกับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า ระบบดังกล่าวพัฒนามาจากระบบที่กระทรวงพาณิชย์ เคยเปิดให้ใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2561 และได้รับความร่วมมือจาก United States Agency for International Development (USAID) ในการร่วมพัฒนา -
สถานการณ์การค้าปลีก-ค้าส่งในเมียนมากับโอกาสของภาคเอกชนไทย
หลังจากเมื่อปี ๒๕๖๑ กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้อนุญาตให้บริษัทต่างชาติและบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัทต่างชาติกับบริษัทเมียนมาสามารถเข้าไปลงทุนในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง (Retail & Wholesale)[๑] ในเมียนมาได้ โดยมีเงื่อนไขเรื่องเงินลงทุนขั้นต่ำ (minimum initial investment) ตั้งแต่ ๗๐๐,๐๐๐-๕,๐๐๐,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐตามแต่กรณี แต่ไม่สามารถดำเนินธุรกิจในร้านชำและร้านสะดวกซื้อที่มีขนาดไม่ถึง ๙๒๙ ตารางเมตร กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี ๒๕๖๓ มีบริษัทในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง รวมทั้งสิ้น ๘๙ ราย ได้แก่ (๑) บริษัทที่ภาคเอกชนเมียนมาเป็นเจ้าของถือหุ้นร้อยละ ๑๐๐ จำนวน ๑๕ ราย (๒) บริษัทเมียนมาที่ร่วมทุน (joint venture) กับบริษัทต่างชาติ จำนวน ๓๗ ราย[๒] (๓) บริษัทที่ต่างชาติเป็นเจ้าของและถือหุ้นร้อยละ ๑๐๐ (100 % Foreign Owned) จำนวน ๓๗ ราย[๓] การเปิดเสรีการลงทุนด้านการค้าปลีกและค้าส่งช่วยให้ผู้บริโภคเมียนมามีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น สหภาพผู้บริโภคเมียนมา (Myanmar Consumers Union) ได้เผยแพร่รายงาน “Myanmar Consumer Survey: 2020” ซึ่งกล่าวถึงรายการสินค้าที่มาจากธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งที่ภาคเอกชนต่างชาติเข้าไปลงทุนและเป็นที่ต้องการของตลาดเมียนมา ได้แก่ อันดับ ๑ อาหารและเครื่องดื่ม อันดับ ๒ ของใช้ประจำวันและสินค้าสำหรับครัวเรือน อันดับ ๓ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอันดับ ๔ เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น -
เมียนมาเปิดตัวระบบการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแบบใหม่บนเว็บไซต์
เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรมทรัพย์สินทางปัญญา (Myanmar Intellectual Property Department - MIPD) กระทรวงพาณิชย์เมียนมาได้ประกาศช่วงทดลองเปิดระบบ (soft opening period) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปแบบออนไลน์ (Online Filing System) บนเว็บไซต์ https://efiling.ipd.gov.mm/efiling/login ขณะนี้ เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้กับ Office of Registration of Deeds (ORD) หรือเครื่องหมายการค้าที่ได้มีการใช้จริง (การใช้ การจำหน่าย หรือ การให้บริการ) แล้วในประเทศเมียนมา สามารถยื่น ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใหม่อีกครั้ง (Re-filing) เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับใหม่ในประเทศเมียนมา มิฉะนั้น เครื่องหมายการค้านั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอีกต่อไป -
เมียนมาออกกฎหมายคุ้มกันการเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้า (Law to Prevent an Increased Quantity of Imports)
เมื่อ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ สำนักงานประธานาธิบดีเมียนมา ได้ออกประกาศ ฉบับที่ ๘๓/๒๐๒๐ เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มกันจากการเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้า (Law to Prevent an Increased Quality of Imports) ซึ่งผ่านสภาแล้วและจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กฎหมายฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการผลิตสินค้าในเมียนมาจากผลกระทบอย่างรุนแรง (Serious Injury) ที่เกิดขึ้นโดยการเพิ่มขึ้นของสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการผลิตของวิสาหกิจขนาดย่อม เล็กและกลาง (Micro, Small and Medium Enterprises – MSMEs) ซึ่งควรได้รับช่วงเวลามากขึ้นเพื่อเตรียม ความพร้อมในการพัฒนาสมรรถภาพในการแข่งขัน (Competitiveness) -
กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานเมียนมารับสมัครผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมในภาคย่างกุ้ง
เมื่อ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ธนาคารโลกได้อนุมัติเงินสนับสนุนเมียนมาภายใต้ Investment Project Financing (IPF) ให้แก่โครงการ “Myanmar Power System Efficiency and Resilience Project” หมายเลขโครงการ P162151 มูลค่า ๓๕๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ การก่อสร้างในโครงการดังกล่าวกำหนดเสร็จสิ้นการก่อสร้างวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๙ ดังนั้น เมื่อ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๓ กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานเมียนมาได้ประกาศเชิญผู้รับเหมาเข้าร่วมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม Ywama (Ywama Combined Cycle Gas Turbine Power Plant) แห่งใหม่ที่มีกำลังการผลิตทั้งสิ้น ๓๐๐ เมกะวัตต์เขตอินเส่ง ภาคย่างกุ้ง สาระสำคัญ ดังนี้ -
โครงการพัฒนาทางด่วนเส้นทางย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ (Yangon-Mandalay Expressway)
ถนนทางด่วนเส้นทางย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ความยาวทั้งสิ้น ๕๘๙ กิโลเมตร ซึ่งเปิดใช้ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๓ เป็นการเชื่อมโยงภาคกับเมืองที่สำคัญในเมียนมาหลายแห่ง อาทิ กรุงย่างกุ้ง กรุงเนปิดอ ภาคพะโค ภาคมะก่วย ภาคสะกาย และภาคมัณฑะเลย์ เส้นทางสายนี้เชื่อมเมืองที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ๒ อันดับแรกของเมียนมาเข้าด้วยกันคือกรุงย่างกุ้งกับเมืองมัณฑะเลย์ และยังเชื่อมโยงกับเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในภูมิภาค ได้แก่ เส้นทางบนแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันออก (East-West Economic Corridor-EWEC) -
เมียนมาออกกฎหมายเขตอุตสาหกรรม (Industrial Zone Law)
เมื่อ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ รัฐสภาเมียนมาได้อนุมัติให้กฎหมายเขตอุตสาหกรรม (Industrial Zone Law) มีผลบังคับใช้ โดยก่อนหน้านี้ เมียนมาไม่มีกฎหมายเฉพาะในเรื่องเขตอุตสาหกรรม ปัจจุบัน กระทรวงวางแผน การคลัง และอุตสาหกรรม เมียนมา กำหนดให้มีพื้นที่ ๒๙ แห่ง เป็นเขตอุตสาหกรรมกระจายไปตามภาคและรัฐต่าง ๆ ได้แก่ ภาคมัณฑะเลย์ ๓ แห่ง ภาคย่างกุ้ง ๑๐ แห่ง ภาคอิระวดี ๓ แห่ง ภาคมะก่วยและรัฐมอญที่ละ ๒ แห่ง ภาคพะโค ภาคตะนาวศรี ภาคสะกาย รัฐชิน รัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง รัฐยะไข่ รัฐคะยา และกรุงเนปิดอ ที่ละ ๑ แห่งนอกจากนี้ ยังมีพื้นที่อื่น ๆ ที่เป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนร่วมจากภาคเอกชน เช่น โครงการ Yangon Amata Smart & Eco City โครงการเมืองอุตสาหกรรมซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างกรมการพัฒนาเมืองและการเคหะ กระทรวงก่อสร้างเมียนมากับบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Copyright © 2014 Business Information Center All Rights Reserved.