Thailand and Myanmar in Regional Economic Context

กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

(Greater Mekong Sub-region Economic Cooperation: GMS-EC)

ตั้งแต่ปี 2535 ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวีดนาม ไทย และจีนตอนใต้ มีความก้าวหน้าที่สำคัญ คือ การพัฒนาเส้นทางเศรษฐกิจ (Economic Corridors) เชื่อมโยงระหว่างกัน และการจัดท้าความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน (Cross Border Transport Agreement: CBTA)

ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี–เจ้าพระยา–แม่โขง

(Ayeyawady - Chao Phraya – Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS)

จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาร์ เวีดนาม และไทย โดยได้ร่วมกันออกปฏิญญาพุกาม (Pagan Declaration) และแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน ความร่วมมือด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ

(Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC)

จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น BIMSTEC ประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมาร์ เนปาล ศรีลังกา และไทย โดยเมียนมาร์ได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540